เลือกคู่รักอย่างไรตามหลักวิทยาศาสตร์? “คุณอยากจะเป็นวันวาเลนไทน์ของฉันไหม?” ผู้คนมากมายมักพูดทำนองนี้เมื่อเข้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่คำถามดังกล่าวอาจกระตุ้นความรู้สึกไม่แน่นอนและความเป็นไปได้ในเชิงโรแมนติก ทำไมมันถึงดูย้อนแย้งกันล่ะ? เพราะการขอให้คนหนึ่งเข้ามาในชีวิตในฐานะคู่รักคือ “ความเป็นไปได้” แต่คุณไม่มีทางรู้ว่าจะกลายเป็นคู่ชีวิตกันหรือไม่นั้นคือ “ความไม่แน่นนอน” ดังนั้นคำถามที่สำคัญกว่าคือ “คุณควรจะเป็นวันวาเลนไทน์ของฉันไหม?” โชคดีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาปัจจัยที่ต้องคำนึงเมื่อชั่งน้ำหนักคนที่จะเข้ามาเป็นคู่รักของคุณ ขอบคุณข้อมูลจาก time.com
ปัญหาของการเอาแต่มองหาน้ำบ่อหน้า
เชื่อว่าผู้คนมากมายไม่ต้องการที่จะลงหลักกับใครสักคนอย่างไร้เหตุผล แต่ต้องการเป็นคู่รักที่เป็นไปได้ที่สุดของอีกฝ่ายต่างหาก บ่อยครั้งในความสัมพันธ์ผู้คนมักกังวลและตั้งคำถามว่าตนควรทำอะไรให้ดีขึ้นกว่านี้? มีใครอีกหรือไม่ที่ตนอาจสนใจมากกว่า? หรือการเปรียบเทียบคู่รักคนปัจจุบันกับใครก็ตาม คณะผู้วิจัยเรียกทัศนะของการมองหาคู่รักคนที่เหมาะสมกว่าว่า “คุณค่าแห่งตัวเลือก” แม้อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าพิสมัยเพราะบุคคลนั้นมีความมั่นใจในตนเองที่สามารถดึงดูดคู่รักดีๆ เข้ามาได้เสมอ เมื่อใดที่พวกเขามีคู่รักก็จะพยายามประเมินอีกฝ่ายจนมีผลต่อความมั่นคงในความสัมพันธ์เพราะอาจก่อเกิดพฤติกรรมเชิงลบอย่าง “การนอกใจ”
การพยายามสร้างตัวตนที่ดีกว่าเดิม
ความสัมพันธ์นั้นให้ปประโยชน์มากมาย เช่น การมีใครสักคนที่ได้ดพูดคุยว่าเจออะไรบ้างตลอดวันที่ผ่านมา หรือการดูแลเมื่อตนเจ็บป่วย ความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นมีผลกระทบเชิงบวกต่อร่างกายของมนุษย์ ทั้งช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาสุขภาพจิตใจจากโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และการถูกทำร้ายจิตใจอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ดีจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องมีคู่รักที่ดี ผู้ที่จะช่วยให้คุณเปลี่ยนเป็นคนที่ดีขึ้น คณะผู้วิจัยกล่าวถึงประสบการณ์ลักษณะนี้ว่าเป็น “การขยายตัวตน (self-expansion)” คือความสามารถที่ความสมัพนธ์จะมอบโอกาสเติบโตของตัวตน (self-growth) ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ทักษะถ่ายรูป พัฒนามุมมองใหม่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งอาจเป็นสิ่งใดก็ตามที่ช่วยให้รู้สึกว่าตนเองดีขึ้น มีความสามารถมากขึ้น โดยปัจจัยทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้หากมีคู่รักร่วมด้วย
ขอบคุณภาพจาก unsplash.com
#ความสัมพันธ์ #ชีวิตคู่ #ความรัก